วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562

8th learning record


Date: 4 October 2019

    วันนี้เป็นเพียงการให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเตรียมเขียนโครงการที่จะนำไปทดลองกับน้องๆที่ศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่ ซึ่งกลุ่มผมก็ตั้งใจเขียนร่างกันอย่างขมักเขม้น ก่อนที่จะนำไปโพสไว้บนกระดานครับ


โครงการ ... เงาพิศวง


หลักการ

          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย มุ่งเน้นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสติปัญญา ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆกันทั้ง 4 ด้าน นอกจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จึงได้จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย


วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

1.       เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง เงาพิศวง เกี่ยวกับการทอดเงา
2.       เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาได้เต็มตามศักยาภาพ
3.       เป้าหมายเชิงปริมาณ เด็กปฐมวัยทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรม


วิธีดำเนินการ

กิจกรรม/ขั้นตอนการปฎิบัติ
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
ขั้นวางแผน
-          ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ
ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้จัดทำ
ขั้นดำเนินการ
-          เสนอโครงการ
-          ดำเนินการเข้ากิจกรรมวิทยาศาสตร์

ตุลาคม พ.ศ. 2562

คณะผู้จัดทำ
ขั้นประเมินผล
-          ประเมินผลโครงการ
ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้จัดทำ


ระยะเวลา/สถานที่ดำเนินการ

          วันที่ 4 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 จัดกิจกรรมในวันพุธ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 11.00 น. ณ มูลนิธิเด็กอ่อนเสือใหญ่ในสลัม


งบประมาณ

          ไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำโครงการ


ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางสาว
อัญชลี
ปัญญา
นางสาว
ภุมรินทร์
ภูมิอินทร์
นาย
ชัยพฤกษ์
ไชยวาสน์
นางสาว
น้ำเพชร
ปิยะคง
นางสาว
อารีรัตน์
ไชยคำ


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.       เด็กปฐมวัยมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและเงา
2.       เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.       เด็กปฐมวัยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้


การประเมินผล

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
1.       เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สังเกต
แบบสังเกต
2.       เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สังเกต
แบบสังเกต
3.       เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
สังเกต
แบบสังเกตุ


ผู้เสนอโครงการ/ผู้เห็นชอบโครงการ

นางสาว
อัญชลี
ปัญญา
นางสาว
ภุมรินทร์
ภูมิอินทร์
นาย
ชัยพฤกษ์
ไชยวาสน์
นางสาว
น้ำเพชร
ปิยะคง
นางสาว
อารีรัตน์
ไชยคำ

ผู้อนุมัติโครงการ

          ดร.จินตนา   สุขสำราญ
 

⤭Vocabulary⤪

Indicator          ตัวบ่งชี้
Success          ความสำเร็จ
Skill          ทักษะ
Approve         อนุมัติ
Together        ร่วมกัน





7th learning record


Date: 20 September 2019

    หลังจากที่ "บ้านวิทยาศาสตร์น้อย" ครั้งที่แล้วการสอบสาธิตยังไม่สำเร็จทั้งหมด ครั้งนี้จึงมีการสาธิตต่อจนครบทั้งหมดอีก 5 กลุ่มด้วยกันครับ กิจกรรมการทดลองเป็นไปอย่างสนุกสนาน ที่มีคำแนะนำของอาจารย์คอยให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา






    เมื่อสาธิตจนครบแล้ว มีกิจกรรมเล็กๆครับ ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเหรียญบาทไปหยอดในแก้วพลาสติกที่มีน้ำปริ่ม ใส่จนกว่าจนล้นหากกลุ่มไหนล้นก่อน กลุ่มนั้นชนะครับ




⤭Vocabulary⤪

Coin          เหรียญ
Plastic          พลาสติก
Help          การช่วยเหลือ
Bubble        ฟองสบู่
Busket          ตะกร้า



6th learning record


Date: 13 September 2019

    วันนี้เป็นวันของ "บ้านวิทยาศาสตร์น้อย" ซึ่งอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาทดลองครับ ซึ่งมีเพียงกลุ่มเดียวที่ผ่านการสาธิตครั้งนี้


    จากนั้นมีกิจกรรมครับ คือ ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันวาดแหล่งน้ำที่สำคัญ ภายในเวลา 15 นาที โดยห้ามให้กลุ่มอื่นรู้ครับ







    และกิจกรรมสุดท้าย คือ ให้แต่ละกลุ่มไปเอาวัสดุอุปกรณ์กับอาจารย์ ได้แก่ กระดาษหนังสือพิมพ์ 2 แผ่นครึ่ง และเทปกระดาษจำนวนหนึ่ง  เอามาทำเป็นขาตั้งพาน กลุ่มไหนทำได้มั่นคงที่สุด กลุ่มนั้นชนะ



⤭Vocabulary⤪

Newspaper          กระดาษหนังสือพิมพ์
Water         น้ำ
Hamonious          ความสามัคคี
Creative         สร้างสรรค์
Solve        แก้ปัญหา





5th learning record


Date: 6 September 2019

    วันนี้มีเพียงการสั่งการบ้านเท่านั้นครับ นั่นก็คือ ให้นักศึกษาไปพิมพ์แผ่นการทดลองของทางสสวท.คนละ 1 เรื่อง ซึ่งผมได้เรื่อง "แสง สี และการมองเห็น" การทดลองชื่อ "การเคลื่อนไหวในแสงสีแดงและสีเขียว"




⤭Vocabulary⤪

See          มอง
Red          สีแดง
Green          สีเขียว
Homework          การบ้าน
Tryout          การทดลอง


"

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

4th learening record


Date: 30 August 2019

การทดลอง

จรวจถุงชามหัศจรรย์ (Tea bag Rocket)

7 การทดลองแสนง่ายและสนุก

อุปกรณ์
  • ถุงชา
  • ไฟแช็ก/ไม้ขีดไฟ
  • ถาด
วิธีการทดลอง
  • ตัดถุงชาด้านหนึ่งออก แล้วเทผงชาทิ้ง
  • ทำถุงชาให้เป็นทรงกระบอก แล้วตั้งไว้ลงบนถาด
  • จุดไฟบนปากถุงชา แล้วมาดูว่าถุงชาบินจะเท่ขนาดไหน
สรุปผลการทดลอง
    ที่ถุงชาลอยขึ้นได้นั้น เนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศร้อนภายในถุง ซึ่งลมร้อนนั้นเป็นอากาศที่เบามาก ส่งผลให้จรวดถุงชาลอยได้นั่นเอง



⤭Vocabulary⤪

Tea        ชา
Fly        บิน
Air          อากาศ
Move          เคลื่อนที่
Bag         ถุง


National Science and Technology fair 2019


Date: 23 August 2019

   สวัสดีครับ วันนี้ผมได้มาทำการศึกษานอกสถานที่ตามที่อาจารย์ได้อยากให้พวกผมมากัน พอผมได้เดินผ่านประตูเข้ามาแล้ว ก็รู้สึกตื่นตาตื่นใจกับนวัตกรรมต่างๆในงานมากครับ แต่มันมากๆคงจะบอกบรรยายใน Blog นี้ไม่ไหว จึงอยากจะขอยกตัวอย่างนิทรรศการโดนๆมา 2 นิทรรศการนะครับ

  1. นิทรรศการข้าว คือ ชีวิต (Rice is Life)
    "ข้าว (Rice)" อาหารหลักใกล้ตัวที่สุดของคนไทย แถบเอเชีย และในอีกหลายเขตภูมิภาคของโลกทำความรู้จักกับคุณประโยชน์ของข้าวที่ทานกันเป็นประจำและชนิดของข้าวที่อาจจะยังไม่เคยเห็นมาก่อน เรียนรู้ความสำคัญของข้าวในหลากหลายมิติ
    โดยมีนวัตกรรมให้เด็กๆที่มาร่วมนิทรรศการนี้ได้จำลองการปักต้นกล้าอีกด้วยครับ เด็กๆสนุกสนานกันใหญ่



      2. นิทรรศการพลาสติกพลิกโลก (Plastic Changed the World)
   มาร่วมเรียนรู้กับนิทรรศการพลาสติกพลิกโลก เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตามแบบฉบับของตัวเอง
  • ท่องอดีตเรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุจากเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ
  • ร่วมค้นหาคำตอบทำไมพลาสติกสารพัดประโยชน์ จึงกลายเป็นผู้ร้ายที่กำลังทำร้ายโลก และย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์
  • เรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจจากเทคโนโลยี และนวัตกรรมรักษ์โลกของหน่วยงานต่างๆที่ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อช่วยเหลือโลกของเรา




⤨Vocabulary⤪

Plastic          พลาสติก
Rice          ข้าว
Life          ชีวิต
Change          เปลี่ยนแปลง
World         โลก



วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

3nd learning record


Date: 16 August 2019

    จากครั้งที่แล้วนะครับที่ผมได้งานกลุ่ม กลุ่มของผมก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ตั้งใจปรึกษาหาความรู้และสุดท้ายก็เสร็จเรียบร้อยครับ เตรียมพร้อมสำหรับแลกเปลี่ยนวามรู้กับเพื่อนในการเรียนครั้งนี้แล้วครับ




    และนี่คือข้อมูลในหัวข้อ "ดิน หิน ทราย" ที่กลุ่มของผมได้ทำการค้นคว้ามาครับ

ที่มาและแหล่งกำเนิด
    ดิน หิน ทราย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีลักษณะที่แตกต่างกัน   

⇒ ลักษณะและคุณสมบัติ
  • ลักษณะ 
  1. หิน มีลักษณะเป็นของแข็ง มีหลากหลายขนาด
  2. ทราย มีลักษณะเป็นของแข็ง มีขนาดเล็กและละเอียด
  3. ดิน มี 3 ลักษณะ ได้แก่ ดินเหนียว มีความหนืดมากกว่าดินทั่วไป เมื่อถูกดูดความชื้นออกไปจะกลายสภาพเป็นดินแข็งๆ / ดินร่วน มีความร่วนซุย สามารถอุ้มน้ำได้ดี / ดินทราย ไม่สามารถอุ้มน้ำได้เลย
  • คุณสมบัติ
  1. หิน มีความแข็งแรง บางชนิดสามารถนำไปทำเป็นเครื่องประดับที่ต้องการความทนทานได้
  2. ดิน มีตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีเข้ม มีเนื้อสัมผัสที่แข็งหยาบไปจนถึงเนื้อสัมที่ละเอียดนุ่มและมีความยิดหยุ่น
  3. ทราย มีละเอียดน้อยไปจนถึงมาก แล้วแต่การแตกตัวออกมาจากหิน มีความแวววาวเมื่อกระทบกับแสงแดด
⇒ ความสำคัญและประโยชน์
  • ความสำคัญ 
  1. หิน ใช้ในการก่อสร้างสิ่งต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน
  2. ดิน เป็นอาหารของพืชที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งกักเก็บความชื้น
  3. ทราย เป็นส่วนประกอบในการทำสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของตกแต่ง และเครื่องประดับ   
  • ประโยชน์
  1. หิน ใช้ในการก่อสร้างสิ่งต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน ใช้ทำรูปแกะสลัก เครื่องใช้ต่างๆ ของประดับตกแต่ง
  2. ดิน ใช้เพาะปลูกพืช และนำไปทำเครื่องปั้นดินเผา
  3. ทราย สามารถนำมาทำกระจก แก้ว หรือตกแต่งของต่างๆได้ 
⇒ การดูแล 
    ดิน หิน ทราย เป็นทรัพยากรธรรมชาติชนิดหมุนเวียน ไม่มีวันหยุดสิ้น

โทษ ข้อระวังและผลกระทบ
  • ข้อระวัง
  1. หิน อย่านำไปปาหรือเขวี้ยงใส่ผู้อื่น เพราะ อาจได้รับบาดเจ็บหรือถึงชีวิตได้
  2. ดิน มีสารเคมีตกค้างมากมาย จึงไม่ควรเอาเข้าปาก 
  3. ทราย ควรเล่นอย่างระมัดระวัง ไม่ควรปาขึ้นสูงๆ เพราะลมอาจพัดทรายเข้าตาได้

     และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนั่งคิดสิ่งประดิษฐ์มีหัวข้อของตัวเอง ทั้งชิ้นงานเดียวและกลุ่ม นี่คือสิ่งประดิษฐ์ทั้งเดี่ยวและกลุ่มของผมครับ

งานเดี่ยว

งานกลุ่ม



⤭Vocabulary⤪

Origin = แหล่งกำเนิด
Nature = ธรรมชาติ
Mositure = ความชื้น
Injury = บาดเจ็บ
Contrivance = สิ่งประดิษฐ์







2nd learning record


Date: 14 August 2019


    การเรียนการสอนวันนี้ที่สำคัญเลยนะครับ มาในหัวข้อเรื่อง"การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย" และนี้คือสิ่งที่ผมได้เลคเชอร์ว่าในโทรศัพท์ครับ

วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
    จะเริ่มจากอะไรที่ซับซ้อนน้อยๆไปยังเรื่องที่ซับซ้อนมากๆ เขาจะเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม เราซึ่งในอนาคตจะต้องไปสอนพวกเขา จึงต้องรู้การออกแบบวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพลงเป็นสื่อ แล้วให้เด็กลงมือปฎิบัติจริง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
    เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสมอง มีตัวอย่างดังนี้ 
    เด็กเคยเห็นหรือเล่นแต่กับตุ๊กตาสุนัข ที่สามารถเดินได้ มีเสียงเห่า เด็กได้กอดได้สัมผัสโดยที่สุนัขไม่กัดเพราะ นั่นคือตุ๊กตา แต่พอเด็กไปพบสุนัขตัวเป็นๆ มีชีวิตจริงๆ จึงเข้าไปเล่นด้วยเหมือนที่เล่นกับตุ๊กตา สุนัขตัวนั่นกลับเห่าและมีทีท่าจะกัด สมองของเด็กคนนั้นจะปรับโครงสร้างแล้วเกิดเป็น "ความรู้ใหม่" ซึ่งเป็นการรับรู้ของสมอง หากเด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่เข้าหาสุนัขอีก แสดงว่าเด็กคนนั้น "เกิดการเรียนรู้" เป็นการปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่
    ดังที่ เพียเจต์ ได้กล่าวไว้ โดยแบ่งขั้นการพัฒนาการออกตามช่วงวัย 4 ขั้น ได้แก่
⇒ ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori - Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ 
⇒ ขั้นก่อนปฎิบัติการ (Preoperational Stage) 2 - 7 ปี เน้นการใช้ภาษาและเหตุผลเล็กน้อย 
⇒ ขั้นปฎิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) 7 - 11 ปี สามารถสร้างกฎเกณฑ์ ตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ และสามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาได้ เรียกว่า ขั้นอนุรักษ์
⇒ ขั้นปฎิบัติการด้านนามธรรม (Formal Poeration Stage) 11 - 15 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดพัฒนาไปถึงขั้นสุดยอด

พัฒนาการ
    หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่อง ดังนั้น เราจะต้องจัดประสบการ์ให้เป็นไปตามพัฒนาการของเด็ก "ถ้าอะไรที่มันง่ายเกินไปเด็กก็จะเบื่อ ถ้าอะไรมันยากเกินไปเด็กก็จะท้อและไม่อยากทำ"


    ในส่วนของกิจกรรมอาจารย์ก็ได้ให้เราจับกลุ่ม 4-5 คนครับ แล้วให้ไปหาข้อมูลมาในหัวข้อที่กลุ่มตัวเองได้ ซึ่งกลุ่มผมได้หัวข้อ "ดิน หิน ทราย" เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนในการเรียนครั้งต่อไปครับ


⤭Vocabulary⤪

Sand = ทราย
Storn = หิน
Share = แบ่งปัน
change = แลกเปลี่ยน
Topic = หัวข้อ