วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

14th learning record


Date: 22 November 2019

    วันนี้เป็นวันส่งการบ้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นงานกลุ่มครับ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายแล้ว เพื่อนๆแต่ละกลุ่มเต็มที่กับงานมากครับ การนำเสนองานก็ไปเป็นอย่างสนุกสนาน 






    และนี่คือกลุ่มของผมครับ กลุ่มของพวกผมได้หัวข้อ "ดิน หิน ทราย" พวกผมจึงได้ทำเครื่องกรองน้ำจากดิน หิน ทราย ซึ่งเป็นเครื่องกรองน้ำจากธรรมชาติอยู่แล้ว




⤭Vocabulary⤪

Nature          ธรรมชาติ
Artifical       ประดิษฐ์
Drum       กลอง
Musical instrument       เครื่องดนตรี
Maze      เขาวงกต






13th learning record


 Date: 8 November 2019

    วันนี้เป็นวันที่ต้องส่งของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่เป็นงานเดี่ยวครับ วันนี้อาจารย์ต้องมีไปทำธุระต่อ พวกผมจึงต้องรีบนำเสนอของเล่นของตัวเองก่อนเวลา 11.45 น.


สาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
    ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ทราย ว่าทรายเม็ดเล็กๆแต่เมื่ออยู่รวมกันในปริมาณที่มากแล้ว สามารถให้เกิดน้ำหนักที่หนักมากขึ้นได้ 

ประสบการณ์สำคัญที่เด็กจะได้รับ
  • เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่
  • เด็กได้เรียนรู้เรื่องปริมาณและน้ำหนัก




⤭Vocabulary⤪

Sand      ทราย
Weight          น้ำหนัก
Amount         ปริมาณ
Muscle        กล้ามเนื้อ
Gather        รวม



วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

12th learning record


Date: 1 November 2019

    วันนี้เป็นครั้งที่สองแล้วนะครับ ที่นักศึกษาได้มาจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับน้องๆที่ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย โดยครั้งนี้กลุ่มผมได้สลับบทบาทมาเป็นผู้ช่วยให้กลุ่มของเพื่อนที่เคยเป็นผู้ช่วยให้กับกลุ่มผมครับ

    เมื่อดำเนินกิจกรรมไปจนครบ 3 ฐานแล้ว ก็ไม่ลืมที่จะมีกิจกรรมส่งท้ายครับ ในครั้งนี้ เด็กๆได้ทำคอปเตอร์กระดาษครับ โดยนักศึกษาจะแจกกระดาษให้น้องๆได้ใช้จินตนาการ ในการระบายสีตกแต่งก่อน แล้วพี่ๆนักศึกษาจะช่วยพับให้เป็นคอปเตอร์ครับ




⤭Vocabulary⤪

Copter     คอปเตอร์
Assistant     ผู้ช่วย
Imagine      จินตนาการ
Accommadate     อำนวยความสะดวก
Devolopment    พัฒนา




11th learning record


Date: 25 October 2019

    วันนี้นะครับ อาจารย์ได้สอนในหัวข้อเรื่อง "หลักการวางแผนในการสอนทำMind map ที่สามารถนำไปใช้กับเด็กได้" มีขั้นตอน ดังนี้
  1. วาดจุดกึ่งกลางของกระดาษก่อน เพราะ การเริ่มที่จุดกึ่งกลาง ทำให้สมองของเราเป็นอิสระ พร้อมที่แตกหน่อความคิด ไปยังทุกทิศทางเรียงตามลำดับที่เราต้องการ
  2. ใช้รูปภาพหรือวาดรูปประกอบ เพราะ รูปภาพมีความหมายนับล้าน และยังช่วยให้ได้ใช้จินตนาการ ภาพที่อยู่ตรงกึ่งกลาง ควรทำให้เด่นดูน่าสนใจ ช่วยให้เรามีจุดโฟกัสที่แน่นอน
  3. ใช้ปากกาหลากหลายสี ตกแต่ง Mind Map  สีจะทำให้สมองตื่นตัว สีสันทำให้ดูมีชีวิตชีวา แถมการนั่งวาดภาพระบายสีทำให้ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
  4. วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลาง แล้วแตกกิ่งก้านตามที่สมองเราจะคิดได้ ต้องให้เส้นเชื่อมต่อกัน เพราะ สมองของมนุษย์ทำงานแบบเชื่อมโยงเข้าหากัน
  5. วาดเส้นกิ่งให้โค้งดีกว่าวาดแบบเส้นตรง เพราะ เส้นตรงดูน่าเบื่อ และไม่น่าสนใจ
  6. ใช้คีย์เวิร์ดเท่านั้น




⤭Vocabulary⤪

Middle      ตรงกลาง
Freedom     อิสระ
Bored      น่าเบื่อ
Connect     เชื่อมโยง
Brian     สมอง



10th learning record


Date: 18 October 2019

    วันนี้ได้มาแล้วครับที่ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อมาจัดกิจกรรมให้กับน้องๆที่นี่ โดยฐานของผมมีชื่อว่า "เงาของตุ๊กตาจะทอดยาวเมื่อไหร่" ในภาพครั้งนี้มีผมเป็นตากล้องหลักครับ


วัสดุอุปกรณ์
  • ตุ๊กตา
  • กล่อง
  • ไฟฉาย
  • ไฟแช็ค
  • เทียน





ขั้นนำ
  1. ครูสนทนาร่วมกับเด็กๆเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่วางอยู่บนโต๊ะ
  2. ครูนำเด็กๆอ่านชื่อวัสดุอุปกรณ์ในการทำการทดลอง


ขั้นสอน

  1. ครูใช้คำถามกระตุ้นเด็กเช่น หากเราฉายไฟฉายใส่ตุ๊กตาภายในกล่องเราจะเห็นอะไรบ้าง
  2. ครูให้เด็กลองฉายด้วยตัวเองทีละคน
  3. ครูถามเด็กว่าเห็นอะไรภายในกล่องนอกจากตุ๊กตา
  4. ครูนำตุ๊กตาออก แล้วให้ทำมือเป็นรูปร่างต่างๆ โดยครูเป็นคนฉายไฟฉายให้



ขั้นสรุป
  1. ครูให้เด็กตอบคำถามว่าเงาเกิดขึ้นได้อย่างไร
  2. ครูบอกคำตอบที่ถูกต้องแก่เด็ก พร้อมยำตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
  3. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาความรู้สึกที่ได้ทำกิจกรรมครั้งนี้

    เมื่อมีเวลาเหลืออยู่เล็กน้อยอาจารย์ได้ให้นักศึกษาเตรียมกระดาษสำหรับทำของเล่น "ปากขยับ" เพื่อให้เด็กๆได้ตกแต่งหน้าตาเจ้าของปากด้วยตนเอง




⤭Vocabulary⤪

Mouth         ปาก
Move      ขยับ
Decorate      ตกแต่ง
Talk      สนทนา
Shadow      เงา



9th learning record


Date: 11 October 2019

   วันนี้อดไปที่ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย อาจารย์จึงให้พวกทำของเล่นจากกระดาษA4คับ ผมจึงขออวดของเล่นชิ้นนี้ครับ


   และของเล่นชิ้นสุดท้าย อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนทำของเล่นจากกระดาษA4ที่เหลือ โดยห้ามซ้ำกับเพื่อน พร้อมออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


    แต่เมื่อเวลานั้นยังเหลืออีกมาก อาจารย์จึงได้ให้ 3 กลุ่มแรกที่จะไปจัดกิจกรรมให้น้องๆ ออกมาลองทำกิจกรรมก่อน โดยสมมุติเหตุการณ์เหมือนทำการทดลองกับเด็กๆจริงครับ



⤭Vocabulary⤪

Show       อวด,แสดง
Repeatedly        ซ้ำ
Event       เหตุการณ์
Suppose      สมมุติ
Toy       ของเล่น



วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562

8th learning record


Date: 4 October 2019

    วันนี้เป็นเพียงการให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเตรียมเขียนโครงการที่จะนำไปทดลองกับน้องๆที่ศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่ ซึ่งกลุ่มผมก็ตั้งใจเขียนร่างกันอย่างขมักเขม้น ก่อนที่จะนำไปโพสไว้บนกระดานครับ


โครงการ ... เงาพิศวง


หลักการ

          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย มุ่งเน้นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสติปัญญา ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆกันทั้ง 4 ด้าน นอกจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จึงได้จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย


วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

1.       เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง เงาพิศวง เกี่ยวกับการทอดเงา
2.       เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาได้เต็มตามศักยาภาพ
3.       เป้าหมายเชิงปริมาณ เด็กปฐมวัยทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรม


วิธีดำเนินการ

กิจกรรม/ขั้นตอนการปฎิบัติ
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
ขั้นวางแผน
-          ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ
ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้จัดทำ
ขั้นดำเนินการ
-          เสนอโครงการ
-          ดำเนินการเข้ากิจกรรมวิทยาศาสตร์

ตุลาคม พ.ศ. 2562

คณะผู้จัดทำ
ขั้นประเมินผล
-          ประเมินผลโครงการ
ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้จัดทำ


ระยะเวลา/สถานที่ดำเนินการ

          วันที่ 4 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 จัดกิจกรรมในวันพุธ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 11.00 น. ณ มูลนิธิเด็กอ่อนเสือใหญ่ในสลัม


งบประมาณ

          ไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำโครงการ


ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางสาว
อัญชลี
ปัญญา
นางสาว
ภุมรินทร์
ภูมิอินทร์
นาย
ชัยพฤกษ์
ไชยวาสน์
นางสาว
น้ำเพชร
ปิยะคง
นางสาว
อารีรัตน์
ไชยคำ


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.       เด็กปฐมวัยมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและเงา
2.       เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.       เด็กปฐมวัยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้


การประเมินผล

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
1.       เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สังเกต
แบบสังเกต
2.       เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สังเกต
แบบสังเกต
3.       เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
สังเกต
แบบสังเกตุ


ผู้เสนอโครงการ/ผู้เห็นชอบโครงการ

นางสาว
อัญชลี
ปัญญา
นางสาว
ภุมรินทร์
ภูมิอินทร์
นาย
ชัยพฤกษ์
ไชยวาสน์
นางสาว
น้ำเพชร
ปิยะคง
นางสาว
อารีรัตน์
ไชยคำ

ผู้อนุมัติโครงการ

          ดร.จินตนา   สุขสำราญ
 

⤭Vocabulary⤪

Indicator          ตัวบ่งชี้
Success          ความสำเร็จ
Skill          ทักษะ
Approve         อนุมัติ
Together        ร่วมกัน





7th learning record


Date: 20 September 2019

    หลังจากที่ "บ้านวิทยาศาสตร์น้อย" ครั้งที่แล้วการสอบสาธิตยังไม่สำเร็จทั้งหมด ครั้งนี้จึงมีการสาธิตต่อจนครบทั้งหมดอีก 5 กลุ่มด้วยกันครับ กิจกรรมการทดลองเป็นไปอย่างสนุกสนาน ที่มีคำแนะนำของอาจารย์คอยให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา






    เมื่อสาธิตจนครบแล้ว มีกิจกรรมเล็กๆครับ ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเหรียญบาทไปหยอดในแก้วพลาสติกที่มีน้ำปริ่ม ใส่จนกว่าจนล้นหากกลุ่มไหนล้นก่อน กลุ่มนั้นชนะครับ




⤭Vocabulary⤪

Coin          เหรียญ
Plastic          พลาสติก
Help          การช่วยเหลือ
Bubble        ฟองสบู่
Busket          ตะกร้า